วันพุธที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2557

การรักษาและตรวจประเมิณ

 การรักษาและตรวจประเมิณ
             นักกายภาพบำบัดจะใช้เทคนิคเฉพาะในการช่วยเพิ่มสมรรถภาพของกล้ามเนื้อและข้อต่อต่างๆอย่างเต็มที่  การรักษาทางกายภาพบำบัดจะช่วยเร่งกระบวนการซ่อมแซม ทำให้ลดอาการปวดและภาวะยึดติดและสามารถกลับไปใช้งานได้ปกติ
เทคนิคการรักษาจะมีการใช้มือ (การดัดดึง ซึ่งเป็นเทคนิคทางกายภาพบำบัด) การรักษาด้วยความร้อน, การใช้เครื่องมืออัลตร้าซาวน์ลดอาการปวด การใช้เทป   และการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มสมรรถภาพของร่างกาย โดยจะออกแบบให้ตรงกับโรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่และจะคำนึงถึงข้อห้าม ข้อควรระวังในการใช้เครื่องมือ

       เป็นรูปแบบการรักษาทางกายภาพบำบัดมีขั้นตอนต่างๆดังนี้
    1.    การตรวจร่างกายทางด้านกายภาพบำบัดเพื่อประเมินร่างกาย  วิเคาะห์โครงสร้างเละหาสาเหตุ  และวางแผนการ
    รักษา โดยแบ่งเป็นการรักษาระยะสั้น (Short term ) เน้นรักษาอาการเจ็บหรืออาการปวดที่ผู้ป่วยเป็นอยู่  และ ระยะยาว            (Long term ) ป้องกันและเพิ่มความแข็งแรง
   
     2.    การรักษาทางด้านกายภาพบำบัด
  • การใช้มือและเทคนิคต่างๆทางกายภาพบำบัดในการรักษา
  • การใช้เครื่องทางกายภาพบำบัดได้แก่  Ultrasound therapy ,  เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า  , Hot pack  และ Cold pack
  • โปรแกรมการนวดที่เน้นกล้ามเนื้อมัดลึกและการยืดกล้ามเนื้อ

      3.    Home Program - Education program , Exercise program

กายภาพบำบัดเบื้องต้นในผู้ป่วยอัมพาต

ประเภทของอัมพาตแบ่งได้ง่ายๆ 3 ประเภท ดังนี้
1. ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก หมายถึง ผู้ป่วยที่มีภาวะการอ่อนแรงจากการขาดเลือดไปเลี้ยงสมอง หรือเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ จากการแตก ตีบ ตัน ของหลอดเลือดในสมองหรืออุบัติเหตุที่กระทบกระเทือนทางสมอง
                2. ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งท่อน หมายถึง ผู้ป่วยที่มีภาวะ การอ่อนแรงของขาข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง ซึ่งมีสาเหตุมาจากอาการบาดเจ็บของไขสันหลังตั้งแต่ ระดับอกลงมาจากการตกจากที่สูง,อุบัติเหตุบนท้องถนน,หรือการถูกยิง,แทง หรือมีเนื้องอกที่ไขสันหลัง เป็นต้น
                3. ผู้ป่วยอัมพาตทั้งตัว  หมายถึง ผู้ป่วยที่มีอาการอ่อนแรงของแขนขาทั้ง 2 ข้าง สาเหตุเช่นเดียวกับอัมพาตครึ่งท่อน แต่จะระดับสูงกว่าคือ มีการบาดเจ็บที่ระดับคอลงมา
 การฟื้นฟูผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกในระยะอ่อนแรง
ปัญหาที่พบในระยะแรกของผู้ป่วย  คือ การอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ ผู้ป่วยจะไม่สามารถขยับแขน ขา หรือช่วยเหลือตนเองได้ จึงเกิดเป็นภาวะแทรกซ้อนในระยะหลังตามมา คือ
1.การเกิดแผลกดทับ จากการนอนในท่าเดิมนาน ๆ
2.การเกิดการยึดติดของข้อและการหดรั้งของกล้ามเนื้อนานเข้าจะทำให้เกิดการผิดรูปของ
ข้อ จนแก้ไขไม่ได้ และการฟื้นฟูจะทำได้ยากขึ้น
                3. การเกิดความตึงตัวของกล้ามเนื้อที่ผิดปกติ โดยในระยะแรกผู้ป่วยมีความตึงตัวน้อย แต่เมื่อผ่านไประยะหนึ่งจะเกิดความตึงตัวมาก และเกิดเป็นภาวะกล้ามเนื้อเกร็งตามมา
การทำกายภาพบำบัดผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกเบื้องต้นในระยะอ่อนแรง
ข้อควรปฏิบัติ
·       การเคลื่อนไหวข้อให้ผู้ป่วยควรทำช้าๆ
·       ควรทำการเคลื่อนไหวให้สุดองศาของการเคลื่อนไหวที่ปกติ แต่ควรระวังในรายที่มีการดามเหล็กอยู่ภายในข้อ ภายในกระดูก ต้องไม่ทำเกินกว่าที่ผู้ป่วยทำได้
·       ในแต่ละท่าทำซ้ำๆท่าละ 10-20 ครั้ง วันละ 2 รอบ
·       ระหว่างทำให้ผู้ป่วยคิดอยู่เสมอว่ากำลังทำการเคลื่อนไหวด้วยตนเอง
·       ไม่ควรทำการเคลื่อนไหวหลังจากรับประทานอาหารอิ่มใหม่ๆ หรือในขณะผู้ป่วยมีไข้
·       ขณะทำการเคลื่อนไหวข้อ ถ้าผู้ป่วยปวด หรือ พบปัญหาอย่างอื่นตามมา ควรหยุดและปรึกษาแพทย์หรือนักกายภาพบำบัด
·       ไม่ควรให้ผู้ป่วยนอนอย่างเดียวนาน ๆ ควรให้ผู้ป่วยลุกขึ้นมานั่งบ่อย ๆ
·       ควรได้รับการฟื้นฟูทางกายภาพบำบัดอย่างต่อเนื่อง
·       พยายามสอนญาติผู้ป่วยให้ทำอยู่เป็นประจำ